ดูสินค้าทั้งหมด
Notice
  • Login
  • สมัครสมาชิก
  • ลืม password
  • Thai
R&CFruitS

จัดหน้าร้านอย่างไรให้ขายดี

 รายละเอียดบทความ  วันที่โพส : 18/12/2009  จำนวนคนเข้าชม : 3878


จัดหน้าร้านอย่างไรให้ขายดี (Nanosoft Marketing Series)

Editor by : Suprachit Kabcome 
 

      ทำไม คนไม่เข้าร้านผม ?  แปลกดีนะครับ บ่นกันจัง...  อุตส่าห์ลงทุนเปิดร้านขายของ  คิดว่าจะรุ่งให้สวนกระแส ไอเอ็มเอฟ เสียหน่อย แต่ผลออกมาว่าตั้งแต่เปิดร้านมานี่ ยังไม่ค่อยมีคนเดินเข้ามาซื้อของจากร้านเท่าไหร่เลย ที่จริงแล้วเรามีหลักเบื้องต้นสำหรับการเปิดร้านล่ะครับที่จริงแล้วเรามีหลักเบื้องต้นสำหรับการเปิดร้านล่ะครับ             
-   เลือกทำเลที่ตั้งของร้านให้เหมาะ
-   จัดหน้าร้านให้น่าสนใจ  สามารถดึงดูดให้ผู้คนที่ผ่านไปมาแวะเข้ามาชม สินค้าที่ร้านได้
-   ตั้งราคาสินค้าให้เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้า

การเลือกทำเลที่ตั้งของร้านค้าให้เหมาะนั้นมักจะพูดง่าย   แต่เวลาลงมือเลือกจริง ๆ แล้ว  ค่อนข้างจะต้องถี่ถ้วนสักหน่อยครับ  ทั่ว ๆ ไปที่จะต้องดูเบื้องต้นก็คือ บริเวณนั้นมีผู้คนเดินผ่านไปมามากหรือไม่ในแต่ละวัน  และในจำนวนนั้นมีกลุ่มที่น่าจะเป็นลูกค้าของเราหรือเปล่า  ถ้าดูแล้วไม่แน่ใจก็ต้องดูหลายวันหน่อยนะครับ  จะลงทุนทั้งที  โดยเฉพาะคนบางคนซึ่งจะได้รับพระคุณจากบริษัทที่เคยทำงานอยู่  ท่านช่วยจ่ายเงินเดือนให้ทีละสิบเดือนเพื่อให้เอามาลุงทุนเป็นเจ้าของกิจการเอง  ยิ่งน่าจะดูให้ละเอียด  สินค้าที่กะว่าจะขายต้องเลือกให้ดี  ให้เหมาะสมกับกลุ่มผู้คนที่จะเดินผ่านไปผ่านมา  แต่ว่าต้องให้ลูกค้าเขามีโอกาสจอดรถหรือหรือเดินเข้ามาเลือกซื้อสินค้าได้ด้วนะครับบางท่านเปิดร้านอยู่ข้าง ๆ ทางด่วนแล้วมาบ่นว่าไม่มีใครจอดซื้อของเลย  โธ่!  ถ้าหากมีล่ะก็เป็นเรื่องโจ๊กแล้วละครับ

    
 เส้นทางที่ผู้คนกำลังจะกลับบ้าน  หรือว่าเป็นเส้นทางที่กำลังจะไปทำงานต้องเลือกสินค้าขายให้เหมาะกันกับสภาพของผู้คนที่สัญจรผ่านไปผ่านมาด้วยนะครับว่าจะไปทำงานตอนเช้า ๆ ล่ะก็  แถว ๆ ป้ายรถเมล์  คงจะมีประเภทไทยฟาสท์ฟู๊ดนั้นล่ะครับที่ขายดี เช่นหมูปิ้งข้าวเหนียว  ขนมครก  ปาท่องโก๋  น้ำเต้าหู้  โจ๊ก  กาแฟ  ไข่ลวก ฯลฯ  ส่วนทางกลับก็น่าจะเป็นประเภทกับข้าวสำเร็จรูป  เครื่องอุปโภคบริโภค  ที่ซื้อกลับไปบริโภคที่บ้าน  หรืออาจจะเป็นภัตตราคาร  ร้านอาหารเย็น  ที่มีเวลานั่งนาน ๆ ได้  ร้านค้าหรือห้างสรรพสินค้าหรือประเภทดิสเคานท์สโตร์ส่วนใหญ่มักจะอยู่ตามเส้นทางกลับบ้านกันทั้งนั้นครับ  (ส่วนจะดูว่าทางไหนกลับบ้าน  ทางไหนไปทำงาน ก็ให้ดูจากย่านธุรกิจกลางเมืองออกมาแล้วกันครับ)  บางคนมีรถเข็นขายน้ำเต้าหู้คันเดียวตั้งอยู่ในจุดทำเลที่ดี  แล้วยังช่างเจรจา  ขายราคาพอเหมาะ  ก็สามารถทำกำไรให้ได้เดือนละกว่าห้าหมื่นบาทเชียวครับ

     คราวนี้มาถึงเรื่องการจัดหน้าร้านให้เหมาะสม  เรื่องนี้บางคนบอกว่า  ผมจัดวางสินค้าเต็มหน้าร้านไปหมดแล้ว  ทำไมไม่มีคนมาซื้อของเลย  ก็นั้นล่ะครับคุณท่านเล่นวางสินค้าจนไม่มีทางเดินเข้ามาซื้อของในร้านน่ะสิครับ  ของที่วางโชว์ให้เห็นหน้าร้าน ควรจะเลือกเอาเฉพาะตัวที่เป็นชูโรง ได้หน่อยก็พอ  มิฉะนั้น ร้านที่ขายเครื่องสุขภัณฑ์ทั้งหลายคงเลือกเอาอ่างอาบน้ำ  อ่างล้างหน้า  โถปัสสาวะ  ชักโครก  ฯลฯ  มาวางโชว์สลอนอยู่หน้าร้านเต็มไปหมด  ถ้าคุณเปิดร้านขายอาหารตามสั่ง หน้าร้านควรมีการวางโชว์เนื้อสัตว์และผักสดต่าง ๆ ให้ลูกค้าได้เห็นถึงความหลากหลาย  และความสดสะอาดของส่วนประกอบที่จะนำมาปรุงเป็นอาหาร  ป้ายชื่อร้านจะต้องเด่นสะดุดตาและสามารถสื่อถึงได้ทันที ว่าที่เรากำลังเปิดร้านทำอะไรอยู่  เช่น ก๋วยเตี๋ยวเรือนายเจ่ง  หรือ หมูสะเต๊ะยายแจ๋ว  เป็นต้น  บางร้านอาจมีสัญลักษณ์ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เช่น  ครกไม้ใบใหญ่มหึมา  สำหรับร้าน ส้มตำครกหลวง  หรือมีตุ๊กตาตัวเท่าคนเป็นรูปต่าง ๆ เพื่อสื่อถึงความเป็นมาของร้านนั้น ๆ
 

    ถ้าร้านของคุณไปเปิดอยู่ในศูนย์การค้า  ก็จงพยายามให้มีจุดดึงดูดสายตาของลูกค้าให้อยากเดินเข้ามาในร้านเราให้ได้  บางร้านก็จะใช้แสง สี ที่ตกแต่งภายในร้าน  บางร้านก็จะใช้การออกแบบลวดลายแนวเส้นที่ทำให้คนอยากเดินเข้าไปตามเส้นทางนั้น ๆ ส่วนที่ยากสักหน่อยก็คือ  เจ้าของร้านส่วนใหญ่เปิดร้านแล้วก็จะกังวลเรื่องของหายมากเสียจนต้องปิดประตูหน้าร้านไว้ตลอดเวลา  แล้วลูกค้าสักกี่คนล่ะครับที่จะกล้าผลักประตูเข้าไปดูสินค้าภายในร้าน ภัตตาคารบางแห่งจัดพนักงานต้อนรับไว้ที่หน้าร้านหลายคนแต่ไม่ทราบว่าอบรมกันมาอย่างไร  หน้าบูดตลอดเวลา  อย่างนี้ก็คงไม่มีใครกล้าเดินเข้าไปใกล้ร้านเหมือนกัน  กลัวจะโดนลูกหลงเอาด้วย  หรือบางร้านก็ออกมาเรียกลูกค้ากันมากเกินไปทำให้ลูกค้าไม่กล้าเดินเข้าไปก็มี  (คงกลัวโดนรุมเอามั่ง)     คราวนี้มาดูเรื่องการตั้งราคาให้เหมาะสม  ราคาเท่าไหร่ล่ะครับที่ว่าเหมาะสม  เราว่าก๋วยเตี๋ยวชามละยี่สิบบาทเหมาะสมแล้วครับ  แต่ร้านอื่น ๆ ที่ขายกันอยู่บริเวณใกล้เคียงเขาขายกันชามละสิบห้าบาท  เราจะยืนยันราคาขายยี่สิบบาทก็คงยากเหมือนกันนะครับ  ลดปริมาณลงหน่อยแล้วขายราคาใกล้เคียงหรือเท่า ๆ กับร้านอื่น ๆ จะดีกว่า  แต่ถ้าร้านของเราไปขายอยู่ร้านเดียวไม่มีคู่แข่งแล้วยังเป็นของจำเป็นอีก  เรื่องขายราคาถูกก็คงข้ามไปได้เลยครับ โดยเฉพาะร้านค้าบางประเภทที่ลูกค้าแทบไม่เคยมีใครต่อราคาเลย  เช่น  คลีนิกรักษาโรคต่าง ๆ หรือร้านขายยา  เป็นต้น  มีใครบ้างไหมที่เดินเข้าไปในร้านขายยาแล้วขอซื้อยาแก้ปวดแบบเดียวกับถามซื้อรองเท้าแตะแถวประตูน้ำ พารา โหลเท่าไหร่ครับ ลดหน่อยได้มั่ย ขาดตัวเท่าไหร่นี่?”   อันที่จริงแล้วลองถามได้นะครับ  แล้วทางร้านหลายแห่งก็ลดให้คุณด้วย ขอให้กล้าเถอะ  ประหยัดเงินได้เยอะเลยนะครับ

** คัดลอกบางส่วนมาจากหนังสือ " ทางรอด SMEs ยุคใหม่ โดย คณิต  สินทบ  ISBN 974-90001-2-9

ถูกใจบทความนี้ ช่วยกดไลค์หรือแชร์กันหน่อยนะ...
ความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความนี้
Save Progress..